วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

อาชีพช่างภาพ

อาชีพช่างภาพ

นิยามอาชีพ

         ผู้ปฎิบัติงานอาชีพในหน่วยนี้   ได้แก่  ผู้ที่ถ่ายภาพบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่องานโฆษณางานพาณิชย์ งานอุตสาหกรรม หรืองานทางวิทยาศาตร์ การใช้ภาพแสดงประกอบเรื่องราวและบทความต่างๆ  ในหนังสือพิมพ์นิตยสาร และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ทำการปรับตั้งและบันทึกภาพต่างๆด้วยกล้องถ่ายภาพยนต์ วีดิทัศน์ และกล้องชนิดพิเศษอื่นๆ รวมทั้งกล้องถ่ายภาพทางอากาศ ทำการควบคุมอุปกรณ์
ตัดต่อ บันทึกภาพและเสียงของภาพยนตร์ วีดิทัศน์ แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง แผ่นดิสก์ดิจิทัลเพื่อให้ได้คุณภาพเป็นที่พึงพอใจ ใช้ความรู้เกี่ยวกับหลักการตัดต่อ การบันทึกภาพและเสียงในการแก้ไขปัญหา 
ที่เกิดขึ้นขณะปฎิบัติงานปฎิบัติหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องและควบคุมดูแลผู้ปฎิบัติงานอื่นๆผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปภาพอาชีพงานถ่ายรูป

ลักษณะของงานที่ทำ

1.ถ่ายภาพเพื่องานโฆษณา เพื่อเป็นภาพประกอบเรื่องราวและบทความในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ 2.ถ่ายถ่ายบุคคลแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่ม 3.ศึกษาความต้องการเฉพาะของงาน และตัดสินใจเลือกประเภทของกล้อง ฟิล์ม แสง และพื้นหลังที่จะใช้ 4.กำหนดตำแหน่งของภาพ ทำการปรับอุปกรณ์และวัสดุถ่ายภาพเชิงเทคนิค 5.ใช้เครื่องสแกนเนอร์เพื่อแปลงภาพเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ 6.ปรับแต่งภาพถ่ายที่มีอยู่

สภาพจ้างงาน

รายได้ของอาชีพช่างภาพ ไม่มีกำหนดตายตัวแน่นอน ขึ้นอยู่กับความสามารถ ฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ ในงานศิลปะการถ่ายภาพ ผู้ประกอบการอาชีพอาจจะตั้งร้านถ่ายภาพเป็นของตนเอง โดยรายได้การถ่ายภาพต่อครั้ง เริ่มต้นขั้นต่ำตั้งแต่หลักพันบาท จนถึงหลักแสนบาท ช่างภาพอาชีพจริงๆที่มีงานประจำ และรับงานถ่ายตามสถานการณ์ ถ่ายฝีมือ จะได้ค่าเฉลี่ย 4500 บาทต่อวัน ในช่วงรับปริญญา (รับเดี่ยว) งานจะมีค่อนข้างเยอะ จะรับงานได้เฉลี่ย 4 - 5 ครั้งต่อคน คิดเป็น 5 ×4500= 22500 บาท ส่วนถ่ายรูปงานแต่งอยู่ที่ประมาณ 2 - 3 ครั้ง คิดเป็นเงินเฉลี่ยตกที่หลักหมื่นบาท/ครั้ง สำหรับงานแต่งจะต้องมีทีม งานจำนวน 2 - 3 คน มาทำหน้าที่ ส่วนค่าใช้จ่ายหารกัน

สภาพการทำงาน

ช่างภาพจำเป็นต้องเข้าใจแสงและองค์ประกอบจึงจะสามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบและสวยงามได้ ซึ่งจะเกี่ยวกับทฤษฎีของแสงในฟิสิกส์โดยตรง แต่ช่างภาพนำคุณสมบัติของแสงมาประยุกต์ใช้ให้เป็นศิลปะได้ อาจมีวิธีในการนำเสนอของตนที่แตกต่างกันไปตามความคิดและจินตนาการของตน ซึ่งผลงานนั้นอาจไม่ถูกต้องหรือสวยงามตามมุมมองของคนทั่วไป

โอกาสในการมีงานทำ

เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาพถ่าย นับเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่องานในแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น งานนิตยสาร งานแฟชั่น งานหนังสือ งานมงคล ท่องเที่ยว เว็บไซด์ ฯลฯ หรือแม้แต่กระทั่งตอนที่เราสมัครงานยังจำเป็นต้องใช้รูปถ่ายเลย จะเห็นได้เลยว่าอาชีพช่างภาพมีงานรองรับให้ทำอยู่มากมาย

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1.มีใจรักในงานถ่ายภาพเเละงานศิลปะ
2.มีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตัวเอง
3.มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพได้
4.ทีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบทางศิลปะ
5.มีความอดทน ใจเย็น เข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

สถาน์ฝึกอบรมอาชีพ / สถาบันการศึกษา

- คณะศิลปะเเละการออกเเบบ สาขาศิลปะภาพถ่าย มหาวิทยาลัยรังสิต 52/347 เมืองเอก ถนนพหลโยธิน
หลักหก ปทุมธานี 12000 โทรศัพท์ 0-2997-2200 ต่อ 3631 โทรสาร 0-2997-2200 ต่อ 3567 อีเมล info@rsu.th
- คณะนิเทศศาสตร์ สาขาศิลปะการถ่ายภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 96 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 โทรศัพท์ 0-2441-6000,0-2889-4585-7 ต่อ 2001 โทรสาร 0-2441-6099

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

อาชีพนี้เปนอาชีพอิสระ โอกาสความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับฝีมือเเละผลงานของผู้ประกอบอาชีพตลาดเเรงงานมีควมต้องการมากทั้งในภาครัฐเเละเอกชน

อาชีพที่เกื่ยวเนื่อง

เจ้าของสตูดิโอ ตากล้องมืออาชีพ เจ้าของกิจการร้านถ่ายภาพ

เเหล่งข้อมูลอื่นๆ

- เว็ปไซต์ www.taklong.com - หนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
- ชมรมคนรักภาพในท้องถิ่น - เว็ปไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพ

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

อาชีพ


ความหมายของอาชีพ
          อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป
     กลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง
     1. อาชีพอิสระ หมายถึงอาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง
แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเล ที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง 

     2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง
บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง"
     การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนด
ของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้างการทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง
กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

  ประเภทของอาชีพ
   แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ
  1.ด้านอุตสาหกรรม หรือ หัตถกรรม  จำแนกตามลักษณะของการดำเนินการได้เป็น ลักษณะ ดังนี้
       1. การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมในครัวเรีอน
       2. การผลิตสินค้าในโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก
       3. การผลิตสินค้าที่ผู้ว่าจ้างนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการผลิตมาให้
       4. การรับช่วงงานบางขั้นตอนของการผลิตมาดำเนินการ 


อ้างอิง : http://cswschool1.blogspot.com/2015/08/blog-post.html?m=1


อาชีพในฝัน

 👥ผมนายคุณาสินอยากเปิดกิจการธุรกิจส่วนตัว เพราะ ผมเชื่อว่าถ้าหากผมได้เปิดกิจการต่อจากครอบครัว
👮🏾ผมนายจีรศักดิ์ทหารเพราะว่าผมมีร่างกายที่ค่อนข้าง แข็งแรง คอยปกป้องประเทศชาติครับ
⛹🏿🏅ผมนายลิขิต ผมอยากเป็นนักกีฬา สร้างชื่อเสียงให้ประเทศชาติ
✈️ผมนายวศินอยากสจ๊วตครับ เพราะว่าผมหล่อ และผมอยากโผบินไปในอากาศแบบนก คงจะรู้สึกได้รับอิสระตามใจต้องการ
😎🍳ผมนายชาลี ผมอยากเป็นChiefเพราะเวลาผมทำอาหารผมรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นหน้าคนทานครับ และผมเชื่อว่าหากใครได้ลองชิมแล้วจะติดใจแน่นอน

วิธีการทำมะละกอเชื่อม





วัตถุดิบมะละกอเชื่อม

1. มะละกอ (ดิบ) 1 ลูก
2. น้ำปูนใส 3-4 ถ้วย
3. มะนาว 1 ลูก
4. เกลือ 1/2 - 1 ช้อนชา

น้ำเชื่อม
5. น้ำตาล 2 ถ้วย
6. น้ำเปล่า 1 1/2 ถ้วย

วิธีทำมะละกอเชื่อม

1. ปลอกเปลือกมะละกอ ฝานมะละกอให้มีความหนาประมาณ 1 ซม. ใช้พิพม์กดเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ หรือใช้มีดตัดแต่งเป็นรูปทรงตามต้องการ ใส่ลงแช่ในน้ำปูนใส ประมาณ 1 ชม.

2. หม้อใส่น้ำครึ่งหม้อ รอจนเดือด ใส่มะละกอใส่ลวกน้ำ ใช้กระชอนช้อนตักใส่ในอ่างน้ำเย็น ใส่ตระแกรงสะเด็ดน้ำ ผึ่งให้แห้ง

3. กะทะทองเหลืองใส่น้ำตาลทราย น้ำเปล่า ตั้งไฟ เคี่ยวเป็นยางมะตูม ใส่มะละกอ เคี่ยวสักพัก บีบมะนาว ใส่เกลือ เพื่อให้มีรสเปรี้ยวและเค็มนิดๆ เชื่อมจนมะละกอใสเป็นเงา ตักใสตะแกรงผึ่งไว้ จัดใส่จาน